วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับวิชาบัญชี > กระดาษทำหาร 8 ช่อง

กระดาษทำการ  8  ช่อง  
( Eight-Column  Working  Paper  /  Worksheet )
            กระดาษทำการ  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดทำงบการเงินให้ง่าย และรวดเร็วขึ้น และเป็นการลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดทำงบการเงิน  และยังช่วยให้กิจการสามารถทราบผลการดำเนินงาน รวมทั้งฐานะการเงินของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องปิดบัญชีก่อน  ซึ่งกระดาษทำการไม่ใช่งบการเงิน เพียงแต่นำตัวเลขจากกระดาษทำการไปจัดทำงบการเงินให้สะดวกขึ้น
รูปแบบของการดาษทำการ  8  ช่อง


ชื่อกิจการ........
กระดาษทำการ
สำหรับระยะเวลา.........สิ้นสุดวันที่.....................



ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต


ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ
  1. เขียนหัวกระดาษทำการ  โดยเริ่มที่ชื่อของกิจการ  บรรทัดถัดมาบอกเป็นกระดาษทำการ        และบรรทัดสุดท้ายให้บอกเป็นระยะเวลางวดที่เราจัดทำ เช่น  งวด 3  เดือน  6  เดือน  หรือปี  และสิ้นสุดในการดำเนินงานวันที่เท่าใด
  2. ลอกงบทดลองลงในกระดาษทำการ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนชื่อบัญชี  เลขที่บัญชี  และจำนวนเงินลงในช่องที่กำหนด  เดบิต หรือ เครดิต ตามหมวดบัญชี  ซึ่งต้องเรียงลำดับหมวดบัญชีจากหมวด 1 – หมวด 5   แล้วรวมยอด ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2  ด้าน
  3. นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุง  โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้องการให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลอง  ซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ  เมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2  ด้านต้องเท่ากัน
  4. นำตัวเลขหมวดบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ไปไว้ในงบดุลให้ตรงกับด้านที่ปรากฏในงบทดลอง หรือในรายการปรับปรุง  หากมีบัญชีในงบทดลอง และในรายการปรับปรุงด้วยและปรากฏอยู่ด้านเดียวกันให้นำมาบวกกัน แต่หากอยู่คนละด้านให้นำมาหักกันแล้วจึงจะนำไปไว้ในงบดุล  (ยกเว้นสินค้าคงเหลือต้นงวด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย จึงต้องนำไปไว้ในช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน) 
  5. นำตัวเลขหมวดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินค้าคงเหลือต้นงวดไปไว้ในงบกำไรขาดทุน (ใช้วิธีเดียวกันกับขั้นที่ 4)
  6. ให้รวมยอดในงบกำไรขาดทุนและงบดุล  ซึ่งยอดจะไม่เท่ากันเพราะจะเกิดผลกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง 
  7. ดูผลต่างในงบกำไรขาดทุน  โดยให้ใส่ยอดผลต่างในด้านที่น้อยกว่า  เช่น  ยอดด้านเดบิตมีผลรวมน้อยกว่า ให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเดบิต และเขียนคำอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่ากำไรสุทธิ  และหากยอดด้านเครดิตมีผลรวมน้อยกว่าให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเครดิตและให้เขียนอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่า ขาดทุนสุทธิ
  8. รวมยอดทั้งสองด้านอีกครั้ง ทั้งในงบกำไรขาดทุน และงบดุล  ซึ่งคราวนี้ยอดรวมต้องเท่ากัน
ตัวอย่าง     
                                             
ร้านมาลิน
กระดาษทำการ
สำหรับระยะเวลา  1  ปี  สิ่นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2550

ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เงินสด
101
81,000





81,000

ลูกหนี้การค้า
102
32,600





32,600

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
103

5,400

(1) 1,230



6,630
สินค้าคงเหลือ
104
57,500



57,500



วัสดุสำนักงาน
105
4,400


(2) 2,650


1,750

อุปกรณ์สำนักงาน
106
102,000





102,000

ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์
107

20,400

(4) 20,400



40,800
เจ้าหนี้การค้า
201

52,200





52,200
ทุน - นางมาลิน
301

236,560





236,560
ขายสินค้า
401

91,000



91,000


ส่วนลดจ่าย
402
1,800



1,800



ซื้อสินค้า
501
96,000



96,000



ส่งคืนสินค้า
502

2,100



2,100


ส่วนลดรับ
503

8,500



8,500


ค่าขนส่งเข้า
504
2,300



2,300



เงินเดือน
505
25,000



25,000



ค่าโฆษณา
506
10,800


(3) 1,800
9,000



ค่าสาธารณูปโภค
507
2,760



2,760




416,160
416,160






หนี้สงสัยจะสูญ
508


(1) 1,230

1,230



วัสดุสำนักงานใช้ไป
509


(2) 2,650

2,650



ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
108


(3) 1,800



1,800

ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สนง.
510


(4) 20,400

20,400






26,080
26,080




สินค้าคงเหลือ
104





130,500
130,500






218,640
232,100
347,850
336,190
กำไรสุทธิ





13,460


13,460





232,100
232,100
347,850
347,850



แหล่งอ้างอิง : http://www.cvc-cha.ac.th/accounting/eightcolumn.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น