วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

การแนะนำตัวเอง

ชื่อ  นางสาวชลธิชา  เมฆเกลื่อน   ชื่อเล่น  โย


เกิดวันที่  20  กันยายน  2538         ราศี  กันย์


กรุ๊ปเลือด  บี                 สัดส่วน    น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร


การศึกษา


ระดับมัธยนตอนต้น  โรงเรียนวัดมัชมัฌติการาม


ปัจจุบันเรียนที่          วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์


อุปนิสัย  ร่าเริง


วิชาที่ชอบ  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


วิชาที่ไม่ชอบ  ภาษาจีน









ความรู้เกี่ยวกับวิชาบัญชี > กระดาษทำหาร 8 ช่อง

กระดาษทำการ  8  ช่อง  
( Eight-Column  Working  Paper  /  Worksheet )
            กระดาษทำการ  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดทำงบการเงินให้ง่าย และรวดเร็วขึ้น และเป็นการลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดทำงบการเงิน  และยังช่วยให้กิจการสามารถทราบผลการดำเนินงาน รวมทั้งฐานะการเงินของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องปิดบัญชีก่อน  ซึ่งกระดาษทำการไม่ใช่งบการเงิน เพียงแต่นำตัวเลขจากกระดาษทำการไปจัดทำงบการเงินให้สะดวกขึ้น
รูปแบบของการดาษทำการ  8  ช่อง


ชื่อกิจการ........
กระดาษทำการ
สำหรับระยะเวลา.........สิ้นสุดวันที่.....................



ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต


ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ
  1. เขียนหัวกระดาษทำการ  โดยเริ่มที่ชื่อของกิจการ  บรรทัดถัดมาบอกเป็นกระดาษทำการ        และบรรทัดสุดท้ายให้บอกเป็นระยะเวลางวดที่เราจัดทำ เช่น  งวด 3  เดือน  6  เดือน  หรือปี  และสิ้นสุดในการดำเนินงานวันที่เท่าใด
  2. ลอกงบทดลองลงในกระดาษทำการ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนชื่อบัญชี  เลขที่บัญชี  และจำนวนเงินลงในช่องที่กำหนด  เดบิต หรือ เครดิต ตามหมวดบัญชี  ซึ่งต้องเรียงลำดับหมวดบัญชีจากหมวด 1 – หมวด 5   แล้วรวมยอด ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2  ด้าน
  3. นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุง  โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้องการให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลอง  ซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ  เมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2  ด้านต้องเท่ากัน
  4. นำตัวเลขหมวดบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ไปไว้ในงบดุลให้ตรงกับด้านที่ปรากฏในงบทดลอง หรือในรายการปรับปรุง  หากมีบัญชีในงบทดลอง และในรายการปรับปรุงด้วยและปรากฏอยู่ด้านเดียวกันให้นำมาบวกกัน แต่หากอยู่คนละด้านให้นำมาหักกันแล้วจึงจะนำไปไว้ในงบดุล  (ยกเว้นสินค้าคงเหลือต้นงวด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย จึงต้องนำไปไว้ในช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน) 
  5. นำตัวเลขหมวดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินค้าคงเหลือต้นงวดไปไว้ในงบกำไรขาดทุน (ใช้วิธีเดียวกันกับขั้นที่ 4)
  6. ให้รวมยอดในงบกำไรขาดทุนและงบดุล  ซึ่งยอดจะไม่เท่ากันเพราะจะเกิดผลกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง 
  7. ดูผลต่างในงบกำไรขาดทุน  โดยให้ใส่ยอดผลต่างในด้านที่น้อยกว่า  เช่น  ยอดด้านเดบิตมีผลรวมน้อยกว่า ให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเดบิต และเขียนคำอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่ากำไรสุทธิ  และหากยอดด้านเครดิตมีผลรวมน้อยกว่าให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเครดิตและให้เขียนอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่า ขาดทุนสุทธิ
  8. รวมยอดทั้งสองด้านอีกครั้ง ทั้งในงบกำไรขาดทุน และงบดุล  ซึ่งคราวนี้ยอดรวมต้องเท่ากัน
ตัวอย่าง     
                                             
ร้านมาลิน
กระดาษทำการ
สำหรับระยะเวลา  1  ปี  สิ่นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2550

ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เงินสด
101
81,000





81,000

ลูกหนี้การค้า
102
32,600





32,600

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
103

5,400

(1) 1,230



6,630
สินค้าคงเหลือ
104
57,500



57,500



วัสดุสำนักงาน
105
4,400


(2) 2,650


1,750

อุปกรณ์สำนักงาน
106
102,000





102,000

ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์
107

20,400

(4) 20,400



40,800
เจ้าหนี้การค้า
201

52,200





52,200
ทุน - นางมาลิน
301

236,560





236,560
ขายสินค้า
401

91,000



91,000


ส่วนลดจ่าย
402
1,800



1,800



ซื้อสินค้า
501
96,000



96,000



ส่งคืนสินค้า
502

2,100



2,100


ส่วนลดรับ
503

8,500



8,500


ค่าขนส่งเข้า
504
2,300



2,300



เงินเดือน
505
25,000



25,000



ค่าโฆษณา
506
10,800


(3) 1,800
9,000



ค่าสาธารณูปโภค
507
2,760



2,760




416,160
416,160






หนี้สงสัยจะสูญ
508


(1) 1,230

1,230



วัสดุสำนักงานใช้ไป
509


(2) 2,650

2,650



ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
108


(3) 1,800



1,800

ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สนง.
510


(4) 20,400

20,400






26,080
26,080




สินค้าคงเหลือ
104





130,500
130,500






218,640
232,100
347,850
336,190
กำไรสุทธิ





13,460


13,460





232,100
232,100
347,850
347,850



แหล่งอ้างอิง : http://www.cvc-cha.ac.th/accounting/eightcolumn.php

ประเทศอาเชียน (ประเทศเวียดนาม)

ประเทศเวียดนาม

            ประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๒๗,๒๐๗ ตารางไมล์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน มีรูปร่างยาวโค้ง ตอนกลางแคบทอดเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ เป็นระยะทางประมาณ ๑,๓๕๐ ไมล์  และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑,๔๐๐ ไมล์ รูปร่างคล้ายพัดจีน มีด้านอยู่ทางตอนใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ คือ
                ทิศเหนือ  ติดต่อกับประเทศจีน ในเขตแคว้นยูนาน กวางสี และกวางตุ้ง
                ทิศตะวันออก  จรดอ่าวตังเกี๋ย และทะเลจีน
                ทิศใต้  จรดทะเลจีน และอ่าวไทย
                ทิศตะวันตก  จรดประเทศกัมพูชา และประเทศลาว
ลักษณะภูมิประเทศ

            ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นป่าเขาทางภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจีน จะมีภูเขามากที่สุด เส้นทางคมนาคม มีแต่ตามช่องเขาต่าง ๆ ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ภาคใต้เป็นที่ราบริมฝั่งทะเล ทำการเพาะปลูกได้ตามพื้นที่ปากแม่น้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่
            พื้นที่ในแคว้นตังเกี๋ย พื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกเป็นทิวเขา แต่ละทิวเขาทอดจากตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ทางชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศจีน ในเขตมณฑลยูนาน และกวางสีเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีหน้าผาชันและเหวลึก มียอดเขาสูงเรียงรายกันไป สิ้นสุดในแนวของหมู่เกาะต่าง ๆ ในอ่างตังเกี๋ย
                ทิวเขาอันนัม  ซึ่งเป็นแกนของพื้นที่ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สลับซับซ้อน และมีที่ราบสูงหลายแห่งอยู่ติดต่อกัน บางแห่งมีความสูงถึง ๓,๑๔๐ เมตร ทิวเขาเหล่านี้แผ่กว้างออกไปในพื้นที่ตอนเหนือ และตอนใต้                 ที่ราบสูงตอนเหนือ  อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำแดง เป็นบริเวณที่มีหินเขาอัคนี ประกอบด้วยที่ราบสูงที่มีหินทราย และหินปูน ส่วนใหญ่เป็นป่าเขามีบางส่วนเป็นที่นา                 พื้นที่ลุ่มตังเกี๋ย  เป็นพื้นที่ลุ่มบริเวณปากแม่น้ำแดง รวมกับที่ลุ่มปากแม่น้ำอื่น ๆ อีกหลายสาย ทางภาคเหนือโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเป็นดินทรายที่ถูกแม่น้ำต่าง ๆ พัดพามาสะสมไว้ จึงเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก โดยเฉพาะพื้นที่ปากแม่น้ำแดงมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรมพื้นที่ลุ่มบริเวณดังกล่าว โดยทั่วไปมีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑๐ ฟุต มีคลองส่งน้ำเป็นจำนวนมาก แยกจากแม่น้ำแดง นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกหลายสายเช่น แม่น้ำดำที่ไหลจากที่ราบสูงทางตอนเหนือของแคว้นตังเกี๋ย                 พื้นที่สามเหลี่ยม (Delta)  ที่เกิดจากแม่น้ำมา แม่น้ำซู และแม่น้ำคา ทำให้เกิดที่ลุ่มขยายลงมาทางส่วนใต้ตอนใกล้ทะเล
                แคว้นตังเกี๋ยเป็นดินแดนที่กว้างขวางที่สุดของเวียดนาม มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากเหนือจรดใต้ประมาณ ๓๘๐ กิโลเมตร และจากตะวันออกจรดตะวันตก ประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร
                พื้นที่ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำแดง  เป็นพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เป็นภูเขาหินปูน ความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่าที่ราบตังเกี๋ยมาก
                แม่น้ำที่สำคัญในบริเวณนี้คือแม่น้ำดำ  ซึ่งไหลผ่านเข้าไปในภูเขาแคบ ๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดแก่พื้นที่แม่น้ำดำไหลขนานไปกับแม่น้ำแดง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำแดงทางเหนือของกรุงฮานอย กระแสวน้ำไหลเชี่ยวมาก
                พื้นที่แคว้นอันนัม  เป็นที่ราบแถบริมฝั่งทะเลยาวตลอดลงไปทางใต้ ทางทิศตะวันตกเป็นทิวเขาสูงกั้นเขตแดนระหว่างลาวกับเวียดนาม มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเล ทางด้านทิศตะวันออก
ภูเขา แม่น้ำ และที่ราบ

                ภูเขา  แบ่งออกได้เป็นสามบริเวณคือ                     บริเวณภาคเหนือของแคว้นตังเกี๋ย  เป็นบริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำแดง แยกออกเป็นบริเวณย่อย ๆ ได้ สามบริเวณคือ                         - บริเวณแม่น้ำขาว  กับชายทะเล เป็นบริเวณที่กว้างที่สุด ประกอบด้วยทิวเขา และสันเขา เป็นรูปโค้งซ้อนทับกัน หันเข้าหาทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอยู่สี่ทิวเขาด้วยกันคือ ทิวเขาซองกำ (Soug Gam) อยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำดำ มีหุบเขาอีกและทะเลสาปหลายแห่ง มียอดสูงสุดประมาณ ๑,๙๗๐ เมตร  ทิวเขางามซัน (Ngan Son) มียอดสูงสุด ๑,๙๓๐ เมตร,  ทิวเขาบัคซัน ( Bac Son) เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเทือง (Song Thuang) หุบเขานี้มีความลาดชันมาก เป็นช่องทางเชื่อมมณฑลกวางสีของจีนกับเมืองลังซัน (Long Son) ของเวียดนาม  ทิวเขาดองเตรียม (Dong Triam) เริ่มจากเมืองฟูลงเทือง (Phu Long Thuang)  ไปจรดชายแดนประเทศจีน มียอดสูงสุด ๑,๕๐๐ เมตร ตอนกลางของทิวเขามีถ่านหินอุดมสมบูรณ์มาก                         - บริเวณเมืองไทงูเย็น (Thai Ngu Yen)   เมืองตูเย็น (Tuyen)  เมืองเย็นเบ (Yen Bay) และเมืองพูโด (Phu Tho) เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยภูเขาเตี้ย ๆ และหุบเขากว้าง ๆ มีทิวเขาสูงอยู่เพียงยอดเดียวคือ ทิวเขาตันดา (Tan Da ) สูงประมาณ ๑,๕๙๐ เมตร                         - บริเวณที่ราบสูงติดต่อกับชายแดนจีนในเขตมณฑลยูนาน  ที่ราบสูงในมณฑลยูนานของจีน ได้ยื่นเข้ามาทางภาคเหนือของแคว้นตังเกี๋ย ที่ราบสูงเหล่านี้มีลักษณะเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันมาก ประกอบด้วย ที่ราบสูงปางคาน (Pang Khan)  มีทิวเขาซองเซ (Song Chay)  มียอดสูงประมาณ ๒,๔๓๐ เมตร ที่ราบสูงพูทาคา (Pou Tha Ca) และที่ราบสูงดองตวน (Dong Tuan)  ซึ่งอยู่ในเมืองเคาบัง (Cao Bang) และเมืองลังซัน (Long Son) เหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสั้น ๆ ไหลไปบรรจบแม่น้ำซีเกียว (Si Kiang) ในประเทศจีน
                    ทิวเขาบริเวณแม่น้ำแดงกับแม่น้ำโขง  เป็นบริเวณที่มีทิวเขาหนาแน่นที่สุด ทิวเขาเหล่านี้มีทิศทางจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้
                        - ทิวเขาฟานสีฟัน (Fan Si Pan)  อยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ มีความยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร สูงสุดประมาณ ๒,๙๘๐ เมตร มีที่ราบสูงทายังพัน (Ta Yang Pan) ซึ่งมีความสูงถึง ๒,๐๐๐ เมตร                         ทางทิศใต้ของทิวเขาฟานสีฟัน จนถึงที่ราบสูงตรันนินห์ (Tran Ninh) ในประเทศลาว พื้นที่ประกอบด้วยทิวเขาที่มีทิศทางจากตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดลำน้ำและที่ราบเล็ก ๆ ทั้งสองฝั่งของลำน้ำคือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ เริ่มตั้งแต่เมืองไลเจา (Lai Chau) จนถึงหัวบินห์ (Hoa Binh) ต่อไปจนถึงเมืองวูบาน (Yu Ban) และเมืองฟูโนกวาน (Phu Nho Quan)
                        ที่ราบสูงตั้งแต่ชายแดนติดต่อกับมณฑลยูนาน ประเทศจีนจนถึงที่ราบสูงซองลา (Song la) และที่ราบสูงมอค (Moc)
                        - ทิวเขาตรันห์หัว (Tharh Hoa)  อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมา (Song Ma) ทางตอนเหนือ                     ทิวเขาอันนัมในแคว้นอันนัมตอนเหนือ  เป็นทิวเขาที่ยาวเหยียดจากบริเวณที่ราบสูงตรันนินห์ (Tran Ninh) ในประเทศลาว ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และขนานกับชายทะเล จากทางตอนเหนือของแคว้นไปสุดทางใต้ของเวียดนาม ทิวเขานี้มีความสูงไม่มากนัก บางตอนแคบมาก และเป็นหน้าผาขัน เป็นทิวเขาที่แบ่งประชากร ที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของภูเขา                 แม่น้ำ  แยกออกได้เป็นสองบริเวณคือ


                    แม่น้ำบริเวณแคว้นตังเกี๋ย  มีแม่น้ำที่สำคัญอยู่สองสายคือ                         - แม่น้ำแดง  มีความยาวประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ในเขตมณฑลยูนาน ประเทศจีน มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำแดงไหลเข้าเขตประเทศเวียดนาม ในเขตเมืองลาวกาย (Loa Kay) และมีความยาวจากเมืองลาวกาย จนถึงปากแม่น้ำที่ไหลไปลงสู่ทะเล มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ระหว่างเมืองลาวกาย และเมืองเยนเบ (Yan Bay) มีเกาะแก่งอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ มีแควสำคัญ ๆ ของแม่น้ำแดงคือ                         ทางฝั่งขวามีแม่น้ำดำ และแควนำมู (Nam Mou)                         ทางฝั่งซ้ายมีแม่น้ำขาว และแควของแม่น้ำขาว ที่สำคัญอีกสามสาย                         จากตัวเมืองเวียตตรี แม่น้ำแดงเริ่มไหลเข้าสู่ที่ราบลุ่ม และแยกออกไปเป็นหลายสาย ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีน ในอ่าวตังเกี๋ย สายที่สำคัญคือ แม่น้ำเดย์ (Day) คลองเรปิด (Rapid Canel) และคลองแบบบัว ได้เชื่อมแม่น้ำแดงกับแม่น้ำไทยบินห์ (Thai Binh)
                        ปริมาณน้ำในแม่น้ำแดง ในฤดูแล้งกับฤดูน้ำ มีความแตกต่างกันมาก ฤดูน้ำมากอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม น้ำในแม่น้ำแดงมีระดับสูง ไม่เป็นเวลาไม่แน่นอน แล้วแต่ปริมาณฝนตกบนภูเขา
                        - แม่น้ำไทยบินห์ (Thai Binh)  มีความยาวไม่มาก โดยเริ่มต้นจากจุดรวมของแควซองคัด (Song Cad) และซองตัง (Song Thoung) ไปถึงบริเวณที่จรดกับคลองเรปิด ต่อจากนั้นแม่น้ำไทยบินห์ ก็กลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำแดง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง
                        บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง มีแม่น้ำลำคลองใหญ่น้อย มาเชื่อมติดต่อกัน แล้วไหลลงสู่ทะเลจีน ในอ่าวตังเกี๋ย บริเวณนี้ปรากฎว่า มีน้ำท่วมอยู่บ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อให้ใช้พื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ ในบางแห่งสามารถทำนาได้ปีละสองครั้ง
                        - แม่น้ำบริเวณตอนเหนือของแคว้นอันนัม  ทางตอนเหนือของแคว้นอันนัม มีทิวเขาอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลมากกว่าทางตอนใต้ลงไป แม่น้ำบริเวณนี้จึงมีความยาวกว่าแม่น้ำซึ่งเกิดจากทิวเขาอันนัม ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศลาว แม่น้ำเหล่านี้จะไหลลงสู่ทะเล ทางด้านทิศตะวันออก มีแม่น้ำที่สำคัญ ๆ คือ แม่น้ำชู (Song Cho) และแม่น้ำมา (Song ma) มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลจีนในบริเวณเมืองทันหัว (Than Hoa) มีที่ราบลุ่มระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ และบริเวณปากน้ำใช้ในการเพาะปลูก ต้นน้ำของแม่น้ำดังกล่าว อยู่ในแคว้นซำเหนือของประเทศลาว  แม่น้ำคา (Song Ca) เกิดจากที่ราบสูงตรันนินห์(Tran Ninh) ในประเทศลาว ไหลลงสู่ทะเลจีนบริเวณเมืองวินห์ (Yinh)  แม่น้ำเบนไฮ เป็นแม่น้ำสำคัญอีกสายหนึ่ง เดิมใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเวียดนามเหนือ กับเวียดนามใต้ ที่เส้นขนานที่ ๑๗ องศาเหนือ                 ที่ราบ  เป็นที่ราบซึ่งไม่กว้างขวางนัก ส่วนมากจะอยู่แถบชายทะเล หรือระหว่างสองข้างของแม่น้ำ                     ที่ราบลุ่มแคว้นตังเกี๋ย หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง  เป็นที่ราบลุ่มที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุด ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๐ - ๑๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล ในที่ราบนี้มีบริเวณเนินเขาที่เป็นหินบ้างเล็กน้อย ทางทิศใต้มีทิวเขาหินปูน บริเวณเมืองทันห์หัว (Thanh Hoa) ติดต่อกันโดยผ่านช่องเขาดองเกียว                     ที่ราบทันห์หัว (Thanh Hoa)  อยู่ในแคว้นทันห์หัว หรือในบริเวณลุ่มแม่น้ำมา และแม่น้ำชู มีพื้นที่กว้างขวาง รองลงมาจากที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ใช้ในการเพาะปลูก                     ที่ราบไงอัน ( Nghi An)  อยู่บริเวณรอบ ๆ เมืองวินห์ (Yinh) หรือบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำคา                     ที่ราบฮาเตียน (Hatinh)  อยู่บริเวณเมืองฮาเตียน จากที่ราบแห่งนี้ต่อลงไปทางใต้ มีที่ราบชายฝั่งทะเล มีลักษณะแคบยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเล ผ่านเมืองดองฮอย (Dong Hoi) ไปจนถึงที่ราบเมืองกวางตรี(Quoang Tri) และเมืองเว้ (Huc) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ลงไป
การคมนาคมขนส่งทางบก

                ถนน  ถนนที่มีอยู่อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้คือ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงท้องถิ่น และทางที่รถยนต์พอจะเดินได้ในบางฤดูกาล
                บริเวณที่มีทางหลวงมากที่สุดคือ ในแคว้นตังเกี๋ย ซึ่งฝรั่งเศสสมัยที่ปกครองเวียดนามอยู่ ได้สร้างขึ้นไว้สำหรับติดต่อกับประเทศจีน และประเทศลาว นอกจากนั้นเป็นถนนที่ติดต่อระหว่างจังหวัด และภายในจังหวัด
                    ถนนหมายเลข ๑  เรียกว่า ถนนสายแมดาริน (Mandarine Route)  เป็นถนนสายสำคัญที่สุด และเป็นสายที่ยาวที่สุด สร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่๑๙ สมัยจักรพรรดิ์ญวน เริ่มต้นที่เมืองลังซัน (Long Son) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงฮานอย หรืออยู่ทางทิศใต้ของมณฑลกวางสี เป็นเมืองชุมทางที่สำคัญ มีถนนหมายเลข ๔ ขนานกับเขตแดนจีน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงเมืองคาวบัง (Coa Bang) และในระหว่างทางที่เมืองดองเดง (Dong Deng) มีทางแยกไปยังเมืองปิงเซียง (Ping Siang) ในมณฑลกวางสี ประเทศจีน
                    ถนนสายแมนดาริน (Mandarien)  เริ่มจากเมืองลังซัน (Long Son) ไปยังเมืองฮานอย แล้วผ่านไปยังเมืองนินห์บินห์ (Ninh Binh) ขนานไปับชายฝั่งทะเล ผ่านเมืองสำคัญคือ ทันห์หัว (Thanh Hoa) ดองฮอย (Dong Hoi) ลงมาทางใต้ถึงเมืองกวางตรี ผ่านเมืองต่าง ๆ ไปถึงเมืองไซ่ง่อน (โฮจิมินห์) พนมเปญ มาจดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
                    ถนนหมายเลข ๒  ตั้งต้นจากเมืองฮานอย ผ่านที่ราบสูงตังเกี๋ยขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เลียบไปตามฝั่งแม่น้ำขาว ผ่านเมืองฟูเยน (Phou Yen) วินห์เยน (Vinh Yen) ฮูเยนกวาง (Hu Yen Quang) บัคกวาง (Bac Quang) ไปสุดทางที่เมืองฮาเกียง (Ha Giang)
                    จากเมืองฮาเกียง มีถนนของจังหวัดติดต่อกับเมืองเวนซาน ( Wen Shan) ในมณฑลยูนาน ประเทศจีน ที่เมืองบัคกวาง มีถนนแยกทางซ้ายไปสู่เมืองลาวกาย (Lao Kay)
                    ถนนหมายเลข ๓  ตั้งต้นจากเมืองฮานอย ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ระหว่างถนนหมายเลข ๑ และหมายเลข ๒ ผ่านไปเมืองไทงวูเยน บัคคาน (Bac Kan) แล้วแยกออกเป็นสองสาย ทางซ้ายไปยังเมืองบางลัค (Bao Lac) ทางขวาไปเมืองคาวบัง (Cao Bang) ทั้งสองเมืองดังกล่าวอยู่ติดกับเขตแดนวประเทศจีน                     ถนนหมายเลข ๔  อยู่ทางภาคเหนือสุดของประเทศ เริ่มต้นจากเมืองมอนเก (Mon Cay) เลียบตามชายแดนประเทศเวียดนามกับจีน ผ่านเมืองลังซวอน เมืองคามบัง ไปยังเมืองบางลัค                     ถนนหมายนเลข ๕  ติดต่อระหว่างเมืองฮานอยกับเมืองไฮฟอง (Hai Pong) ใช้ในการลำเลียงขนส่งสินค้าจากท่าเรือเมืองไฮฟองไปยังเมืองฮานอย                     ถนนหมายเลข ๖  ตั้งต้นจากเมืองฮานอยไปทางทิศวตะวันตกผ่านเมืองฮาดอง (Ha Dong) หัวบินห์ ขนานไปกับลำน้ำดา (Song Da) ผ่านเมืองซองลาไปสุดที่เมืองไลเจา (Lai Chau) ในประเทศจีน
                    ระหว่างเมืองโซโบ (Cho Bo) กับเมืองซอนลา มีถนนสามสายที่แยกเข้าสู่ประเทศลาว ในแคว้นวำเหนือ
                    ระหว่างเมืองซอนลากับเมืองไลเจา มีทางแยกไปเมมืองเดียนเบียนฟู และเข้าไปสู่ประเทศลาวทางแคว้นพงสาลี
                    ถนนหมายเลข ๗  แยกจากถนนสายแมนดาริน ที่ฟูเดียนเจา (Phu Dien Chau) ไปทางทิศตะวันตก เลียบไปทางทิศใต้ของแม่น้ำซองคา ผ่านช่องเขาบาเทเลมี (Ba The lemy) ไปยังเมืองเชียงของและเมืองหลวงพระบางในประเทศลาว                     ถนนหมายเลข ๘  เริ่มต้นจากเมืองรินห์ไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ประเทศลาว โดยผ่านช่องเขาเหนือ (Ke4o Neva) ผ่านนาเป (Nape) ลัคเซา  (Lak Sao) คำเกิด ไปบรรจบกับถนนระหว่างท่าแขก - ปากซัน เวียงจันทร์ ในประเทศลาว                     ถนนหมายนเลข ๙  เริ่มต้นจากเมืองฮาเตียน (Ha Tinh) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านช่องเขามูเกีย (Mu Gia) ผ่านบ้านนาเผาถึงเมืองท่าแขกในประเทศลาว
                    นอกจากถนนสายวสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังมีถนนที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองต่อเมืองอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง และระหว่างเมืองตามชายฝั่งทะเล
                ทางรถไฟ  ฝรั่งเศสได้สร้างทางรถไฟไว้ในเวียดนาม ในสมัยที่ปกครองเวียดนามอยู่หลายสายด้วยกัน สายที่ยาวที่สุดคือ สาย Trans Indochina   เชื่อมต่อระหว่างเมืองฮานอย กับเมืองไซ่ง่อน ทางรถไฟในเวียดนาม สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศจีนได้ นอกจากนั้นฝรั่งเศส ยังได้สร้างทางรถไฟสายตะวันตกเฉียงเหนือ ของเมืองฮานอย ผ่านเมืองลาวกาย เข้าไปในประเทศจีนในเขตมณฑลยูนานถึงเมืองคุนยิง                     ทางรถไฟสายฮานอย - ไซ่ง่อน  เลียบชายฝั่งทะเลขนานกับถนนสายแมนดาริน ผ่านเมืองที่สำคัญคือเมืองฟูลี นามคินห์ ทัมหัวห์และเมืองวินห์                     ทางรถไฟสายฮานอย - ลังซอน - นัมกวาน (Num Kwan)  ติดต่อเข้าไปยังมณฑลกวางสี ประเทศจีน ยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร                     ทางรถไฟสายฮานอย - ไฮฟอง  เป็นทางรถไฟสายสั้น ๆ มีสะพานข้ามแม่น้ำแดงแห่งหนึ่ง ยาวปรนะมาณ ๑,๖๘๐ เมตร                     ทางรถไฟสายฮานอย - ลาวกาย - คุนมิง  มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศจีน ผ่านเมืองเมงจือ (Meng Tzu) ทางรถไฟตัดผ่านช่องเขาและซอกเขา เป็นทางชัน ตัดผ่านอุโมงถึง ๑๗๐ แห่ง                 ช่องเขา  ถนนติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ ในตอนเหนือของเวียดนาม ส่วนมากตัดผ่านภูเขา โดยเลียบไปตามเชิงเขาและแม่น้ำ                     ถนนหมายเลข ๑  ตอนจากเมืองฮานอยลงมาทางใต้ ต้องตัดผ่านช่องเขาหลายแห่ง ที่สำคัญคือช่องเขาระหว่างเมืองเว้และตุราน                     ถนนหมายเลข ๗  จากเมืองฟูเดียนเจา แยกจากถนนหมายเลข ๑ ไปยังเมืองเชียงขวาง และเมืองหลวงพระบางของประเทศลาว จะผ่านช่องเขาบาเทเลมี                     ถนนหมายเลข ๘  จากเมืองวินห์ไปยังเมืองคำเกิดในประเทศลาว จะผ่านช่องเขาเหนือ ที่บริเวณนาเป                     ถนนหมายเลข ๙  จากเมืองฮาเตียนห์ ไปยังเมืองท่าแขกของประเทศลาว จะผ่านช่องเขามูเกีย


            การคมนาคมขนส่งทางน้ำ  แต่ก่อนการคมนาคมขนส่งทางบกมีน้อย และก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามาปกครองเวียดนามนั้นทางรถไฟยังไม่มี ชาวเวียดนามจะใช้แม่น้ำลำคลองตามธรรมชาติ เป็นทางสัญจรและขนส่ง โดยใช้เรือขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะกับความลึกของแม่น้ำ
            ในพื้นที่ตอนเหนือมีแม่น้ำแดง แม่น้ำไทยนินห์ ส่วนแม่น้ำในแคว้นอันนัม ที่เกิดจากทิวเขาอันนัมเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ แคบ และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ไม่เหมาะแก่การขนส่งทางน้ำ
                ในแคว้นตังเกี๋ย  ในแม่น้ำแดง ฝรั่งเศสได้ทำเขื่อน และวางทำนบกั้นน้ำ เพื่อใช้ในการเดินเรือ ได้ระยะยาวไกล และใช้ได้ทุกฤดูกาล ในฤดูน้ำตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ลำน้ำนี้จะใช้ได้เป็นระยะทางประมาณ ๗๐๐ กิโลเมตร เรือกลไฟจะแล่นไปได้ถึงเมืองวางกาย และในแม่น้ำดำจะไปได้ถึงเมืองไชโย ในฤดูแล้งเรือกลไฟแล่นในแม่น้ำแดงได้เพียงประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
                ในพื้นที่สามเหลี่ยมของแคว้นตังเกี๋ย การคมนาคมแบ่งออกเป็นสองตอนคือ
                    ทางแม่น้ำแดงกับแม่น้ำไทยมินห์  แม่น้ำทั้งสองติดต่อกันได้โดยใช้คลองขุด การคมนาคมนับว่าสดวกมีทางน้ำที่ใช้เดินเรือได้เป็นระยะทางประมาณ ๓,๓๐๐ กิโลเมตร                     ในแคว้นอันนัมตอนเหนือ  ในเขตนี้มีแม่น้ำมา แม่น้ำชู และแม่น้ำเกียว เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่เหมาะแก่การขนส่งทางน้ำ เพราะตอนปากแม่น้ำกว้างและตื้น มีสันทรายขวางอยู่ กั้นไม่ให้ติดต่อกับทะเลได้สะดวก ในฤดูแล้งน้ำตื้น ส่วนในฤดูน้ำกระแสน้ำไหลเชี่ยว พอใช้ในการลำเลียงขนส่งได้ในระยะทางไม่ไกลนัก             การคมนาคมขนส่งทางทะเล  แม้ว่าเวียดนามจะมีชายทะเลยาวมาก ประมาณ ๑,๒๕๐ กิโลเมตร ตลอดแนวเขตประเทศด้านทิศตะวันออก แต่ไม่มีอ่าวสำหรับจอดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ พอที่จะใช้เป็นท่าเรือได้                 ชายทะเลระหว่างเมืองมงไค (Mong Cai)  และเมืองไฮฟอง  เป็นบริเวณที่มีอ่าวและเกาะมากที่สุด เกาะเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ทางทิศเหนือเป็นเกาะใหญ่ ขนานกับชายทะเลได้แก่ เกาะไกโย (Cai Bau) ทางทิศใต้ประกอบด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อย และมีหินโผล่ขึ้นมาจากพื้นน้ำในบริเวณอ่าวอลอง (Along) และอ่าว Faitsi Long ทางทิศตะวันออกของเมืองไฮฟอง มีเกาะใหญ่อยู่เกาะหนึ่งชื่อ เกาะแคทบา (Cat Ba) และมีหมู่เกาะเล็ก ๆ ต่อไปทางทิศตะวันออก                 ระหว่างเมืองไฮฟองกับเมืองดองฮอย  ชายทะเลตอนนี้ไม่มีอ่าวสำคัญ ชายทะเลแถบนี้มีแหลมยื่นออกมาบ้าง และในบางตอนประกอบด้วยเนินทรายสูง แผ่เข้าไปในแผ่นดิน เนินทรายบางแห่งสูงถึง ๔๐ เมตร เช่น เนินทรายที่อยู่ทางตอนใต้ของเมืองดองฮอย                 บริเวณมุยรอน (Mui Ron)  มีหาดหน้ากว้าง ๑๐ กิโลเมตร ใกล้ถนนสายหลักคือ ถนนหมายเลข ๑ หรือถนนสายแมนดาริน                 บริเวณตอนปากน้ำ  มีอยู่เพียงสองแห่ง ที่พอใช้ได้คือ ที่ดองฮอย และที่แม่น้ำเคียนเกียว ใกล้มุยรอน ที่ดองฮอยใช้ได้สำหรับเรือขนาดเล็ก และกินน้ำตื้น ส่วนที่แม่น้ำเคียนเกียว ใช้เรือขนาดเล็กกินน้ำตื้นเข้าไปในลำน้ำได้ถึง ๑๐ กิโลเมตร
                สรุปแล้วการขนส่งโดยเรือเดินสมุทร ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วใช้ท่าเรือเมืองไฮฟองได้เพียงแห่งเดียว มีเรือเดินทะเลเข้าไปขนส่งสินค้าติดต่อกับฮ่องกง และเมืองท่าต่าง ๆ ของประเทศจีน เช่น กวางตุ้ง เอ้หมิง เซี่ยงไฮ้ ทางด้านเหนือและตะวันออก และติดต่อกับสิงคโปร์และอินเดีย ทางด้านใต้และตะวันตก นอกจากนั้นยังติดต่อกับญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์อยู่บ้าง
ประชากร

            ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติเวียดนามแท้ ประมาณร้อยละ ๘๕ เป็นชาวจีนประมาณร้อยละ ๒ ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยประมาณร้อยละ ๑๔ ประกอบด้วย ชาวโม้ง ( Muong) ไท (Thai) แม้ว (Meo) เขมรมอญ (Mon) จาม (Cham)
            ดินแดนเวียดนาม แต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกมอย (Moi) ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กันหลายสิบเผ่า มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับชาวข่าบางเผ่าในประเทศลาว จัดเข้าอยู่ในตระกูลมอญ - เขมร และบางเผ่าในตระกูล ชวา - มลายู พวกมอยมีอยู่มากกว่าล้านคน ส่วนมากอาศัยอยู่ตามภูเขาเหนือไซ่งอน ขึ้นไปจนเหนือเส้นขนานที่ ๑๗ พวกนี้ไม่มีตัวหนังสือใช้ เคร่งครัดในลัทธิไสยศาสตร์ นับถือผีสาง เทวดา อย่างยิ่ง ไม่ชอบพบคนแปลกหน้า
            นอกจากพวกมอยแล้ว ขนกลุ่มน้อยในเวียดนามอีกพวกหนึ่งคือ พวกไทย บรรพบุรุษของพวกไทยอพยพจากประเทศจีน เมื่อประมาณต้นพุทธกาล เข้ามาตามลุ่มน้ำต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ในที่สุดได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นตังเกี๋ย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มคือ
                    ผู้ไทยดำ  อยู่ในเขตสิบสองจุไทย แถบแม่น้ำซองมา แม่น้ำดำ เมืองซอนลา เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เมืองฮุง เมืองลอย                     ผู้ไทยขาว  อยู่ในแถบเมืองไลเจา ใกล้เคียงกับไทยดำ ไทยโท้ ไทยนุง                     ไทยโท้  อยู่รอบ ๆ บริเวณที่ราบสามเหลี่ยมแม่น้ำแดง ทางทิศตะวันตก และทางทิศเหนือของเมืองฮานอย                     ไทยนุง  อยู่ตามพรมแดนตังเกี๋ย และมณฑลกวางสีของจีน                     ยาง  อยู่ในเขตเมืองห้ายาง ทางทิศตะวันออกของเมืองเผาลัก ตรงปากน้ำแคลร์กับน้ำโล                     มีชนอีกพวกหนึ่ง อยู่ตอนกลางของแคว้นตังเกี๋ยคือ พวกเมือง (Moung) ซึ่งเป็นชาติผสมเวียดนาม ชวา และไทย มีภาษาพูดคล้ายพวกเวียดนามมาก ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเชิงเขา บริเวณใกล้กับเมืองฮานอย และตะวันตกเฉียงใต้ลงไป ตามภูเขากั้นพรมแดนลาว ตรงกับเมืองวินห์ นับว่าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของเวียดนาม ทางตอนเหนือด้วยเหมือนกัน                     มีชนอีกสองพวกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียดนามตอนเหนือคือ พวกแม้ว และพวกหม่าน                     พวกแม้ว  แบ่งออกเป็นสี่พวกคือ แม้วขาวแดง แม้วสาย แม้วดำ และแม้วขาว อาศัยอยู่ตามเมืองชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศจีน ทางด้านมณฑลยูนาน ในเขตเมืองลาวกาย เมืองจำปา เมืองฟองโท เมืองไลเจา เมืองแถง และเมืองซอนลา                     พวกหม่าน  แบ่งออกเป็นห้าพวกคือ หม่านตาปัน หม่านลานเถน หม่านกวางก๊ก หม่านเถาลาน และหม่านกวางตัง อาศัยอยู่ตามภูเขาในเขตเมืองฟองโท เมืองไลเจา เมืองลาวกาย ริมฝั่งแม่น้ำแดง เมืองเกายาง เมืองลาวเชิง เมืองเยนบาย เมืองบองกาย และภูเขาแถบเมืองหัวบินห์ ก่อนที่แม่น้ำดำจะไปบรรจบแม่น้ำแดง                     ชาวญวน หรือชาวเวียดนาม  เดิมอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ บริเวณมณฑลซีเกียง ฟูเกี้ยน กวางตุ้ง และกวางสี ในปัจจุบัน จัดอยู่ในเผ่าไทย - จีน เพราะภาษาพูดของพวกเวียดนาม มีคำพ้องกับคำไทยในภาษา และคำในภาษาจีนอยู่มาก
                    พวกชนกลุ่มน้อยรวมกันประมาณร้อยละ ๑๕ ของประชากร เวียดนามตอนเหนือนี้ โดยความเป็นมาทางประวัติสาสตร์ เป็นพวกที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับพวกเวียดนาม ในสมัยที่ยังแยกเป็นเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ รัฐบาลเวียดนามเหนือได้เคยประสบปัญหาของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้อนุมัติให้มีเขตปกครองตนเองของพวกไทย - แม้ว (Thai - Meo Autonomous) มีพื้นที่ประมาณ ๑๙,๕๐๐ ตารางไมล์ มีชนเผ่าต่าง ๆ อยู่ ๒๐ เผ่า ประมาณ ๓๓๐,๐๐๐ คร และมี Viet - Bac Autonomous Area   มีพื้นที่ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ตารางไมล์ มีชนเผ่าต่าง ๆ ๑๕ เผ่า ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ คน นอกจากนี้ยังมี Lao - Ha - Yen  Area  อีกด้วย
                ชาวเวียดนามแท้  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่น ตามที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ที่ราบตามชายฝั่งทะเลตะวันออก และที่ราบตอนใต้                ชาวจีน  ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในย่านการค้า และตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองโชลอง เมืองไซ่ง่อน (โฮชิมินห์) และเมืองตามชายฝั่งทะเลทั่วไป ชาวจีนที่อยู่ในเวียดนามเกือบทั้งหมด ถือสัญชาติเวียดนาม มีการพักรวมกันเป็นกลุ่ม จัดตั้งสมาคมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า แต่ก็มีชาวจีนบางส่วนประกอบอาชีพทางกสิกรรมเลี้ยงสัตว์                 ชาวเผ่าไทย  ประกอบด้วย ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง ไทยลาย ไทยโท้ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด จากบรรดาชนที่ไม่ใช่เวียดนามแท้                 ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขา เชิงเขา ที่เป็นป่าลึกด้านเหนือ กลาง และตะวันตก และที่ราบสูงภาคกลาง พวกนี้มักไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ชอบอพยพเปลี่ยนที่อยู่เรื่อยไป ไม่นิยมวัฒนธรรมต่างถิ่น ส่วนใหญ่มีความเชื่อในไสยศาสตร์ หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ ล่าสัตว์ และหาของป่ามาขาย                 ชาวเขมร  อาศัยอยู่ตามบริเวณดินแดนดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กับบริเวณใกล้เมืองฮาเดียน ติดต่อกับแดนเขมร ไปจนถึงบริเวณแหลมที่ยื่นออกไปในทะเลจีน มีอาชีพส่วนใหญ่ในการทำการกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ และการประมง นับถือพระพุทธศาสนา และมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายประชากรในประเทศกัมพูชา                 ชาวจาม  เป็นเจ้าของถิ่นเดิมในดินแดนภาคกลางของเวียดนาม และในภาคใต้ของเวียดนาม แถบชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา แถบเมืองซอด๊อก ไตนินห์ และฟานราง ชาวจามเป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมสูงเป็นของตนเองมาก่อน วัฒนธรรมของชาวจามที่เหลืออยู่ในเวียดนามคือ วัดโพนาการ์ (Poh Nagar) ซึ่งอยู่ในภาคกลางของเวียดนาม                 ชาวเกาะ  เป็นพวกที่มีเชื้อสายอินเดีย อินโดเนเซีย มลายู ทำมาหากินอยู่ทั่วไปในภาคใต้ของเวียดนาม ในแถบชายฝั่งทะเลเข้ามาจนถึงเขตแดน ที่ติดต่อกับกัมพูชา และลาว และขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองเว้ และเมืองกวางตรี ความหนาแน่นอยู่ในภาคกลางของประเทศ                 เชื้อชาติอื่น ๆ  เป็นชาวต่างประเทศที่เข้าไปประกอบอาชีพเล็กๆ น้อย เป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ทั่ว ๆ ไปตามเมืองใหญ่ ๆ ที่เจริญแล้ว และตามชายแดนที่ติดต่อกัน เช่น ลาว ไทย ฝรั่งเศส และชาวยุโรปอื่น ๆ
                โดยทั่วไปแล้ว ชาวเวียดนามเป็นชนชาติที่มีนิสัยใจคอมั่นคง มีความขยันขันแข็งในการทำงาน มีความมานะอดทนดีมาก มีความรักชาติ รักอิสรภาพ กล้าหาญ เฉลียวฉลาด และมีความสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างแน่แฟ้น ในหมู่คนเวียดนามด้วยกันมีความรู้สึกชาตินิยมอย่างรุนแรง และพร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลง ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
                ปัจจุบันเวียดนามมีหลายศาสนา และลัทธิ แต่ระบบโครงสร้างของสังคมมีพื้นฐาน และได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อมาก ชาวเวียดนามถือว่า ครอบครัวเป็นพื้นฐานความเป็นอยู่ ดังนั้นที่ดินของบรรพบุรุษจึงถือเป็นกรรมสิทธิร่วมกันทั้งครอบครัว มีความเคารพนับถือวิญญาณของบรรพบุรุษ มีความยึดมั่นในลัทธิศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบเนื่องกันมาแต่เดิม



แหล่งอ้างอิง : http://www1.mod.go.th/heritage/nation/neighbour/vietnam1.htm

การใช้งานโปรแกรม Internet Explorer


สำหรับโปรแกรม Internet Explorer จะมีพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ซึ่งเมื่อได้ทำการติดตั้งระบบ Microsoft Windows เสร็จเรียบร้อยจะเห็นไอคอน (IE) บน Desktop
สามารถเรียกใช้โปรแกรม โดยการคลิกที่ไอคอน Internet Explorer หรือ


ส่วนประกอบของ IETitle : แสดงชื่อเว็บที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น
Manu Bar : แสดงเมนูคำสั่งต่าง ๆ สำหรับควบคุมโปรแกรม เช่น การ Save , Copy File , Print File รวมถึงการปรับตั้งค่าต่าง ๆ
Toolbar : ประกอบไปด้วยปุ่มสำคัญต่าง ๆ โดยปุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ใช้แทนคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ ทำให้เราไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปในเมนู เพียงแต่คลิกที่ปุ่มเหล่านั้นแทนและเราสามารถเพิ่มหรือลบปุ่มได้
Address : ส่วนนี้ให้กรอกชื่อ Address หรือ URL ของเว็บไซต์ที่เราต้องการจะติดต่อ เช่น http:\\
www.paktho.ac.th , http:\\trirong.paktho.ac.th
Status Bar : ส่วนนี้แสดงสถานะการทำงานได้แก่ URL ที่กำลังใช้งานอยู่หรือคำอธิบายการทำงาน เป็นต้น
  • หลักการใช้งาน Internet Explorer สำหรับท่องเน็ตเบื้องต้น
    เมนู ปุ่ม และคำสั่งในเบื้องต้น

หน้าที่ของปุ่มต่าง ๆ

ปุ่ม Back ใช้สำหรับย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมาแล้ว
ปุ่ม Forward ใช้สำหรับเปลี่ยนไปหน้าต่อไป (หลังจากที่ย้อนกลับมา)
ปุ่ม Stop ใช้สำหรับหยุดการโหลดข้อมูลในหน้าเว็บเพจนั้น
ปุ่ม Refresh ใช้สำหรับการเรียกโหลดข้อมูลหน้าเว็บเพจใหม่อีกครั้ง
ปุ่ม Home ใช้สำหรับกลับไปหน้าแรกที่ตั้งไว้
ปุ่ม Search ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์
ปุ่ม Favorites ใช้สำหรับเลือกเว็บไซต์จาก Favorites หรือ Book Mark
ปุ่ม History ใช้สำหรับการย้อนกลับไปดูเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปดูมาแล้ว
ปุ่ม Mail ใช้สำหรับการ รับ-ส่ง อีเมล์
ปุ่ม Print ใช้สำหรับการพิมพ์หน้าเว็บออกเครื่องพิมพ์
ปุ่ม Edit ใช้สำหรับการแก้ไขหน้าเว็บเพจนั้น ๆ

การใช้งานโปรแกรมเบื้องต้น
การไปยัง Web site ที่ต้องการ พิมพ์ชื่อ web site ลงไปในช่อง Address การบันทึกเอกสารที่ต้องการ
เมื่อต้องการบันทึกเอกสารที่อ่านอยู่ สามารถทำได้โดยการไปที่ File > Save As จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกว่าจะบันทึกแฟ้มข้อมูลไว้ที่ใดในเครื่องคอมพิวเตอร์
การบันทึกรูปภาพที่ต้องการ
เมื่อต้องการบันทึกรูปภาพ สามารถทำได้โดยการคลิกเมาส์ขวาที่รูปภาพ แล้วเลือก Save Picture As จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกว่าจะบันทึกแฟ้มข้อมูลไว้ที่ใดในเครื่องคอมพิวเตอร์
การทำ Favorites คือการเก็บ Web Site ที่สนใจไว้  ครั้งหน้าจะได้ไม่ต้องพิมพ์ชื่อสามารถกำหนด Web Site ที่สนใจเป็น favorites ของได้ โดยเมื่ออยู่ที่ Web Site นั้นๆ ให้เลือกที่ Favorites > Add to Favorites โปรแกรมจะทำการเพิ่มลงไปให้โดยอัตโนมัติ และคราวต่อไปสามารถเลือกที่ Favorites ได้โดยตรง
  1. การใช้งาน Favorites
     เมื่อต้องการไปที่ web site ที่ได้ทำ Favorites ไว้แล้ว สามารถทำได้โดยการกดที่ปุ่ม Favorites ซึ่งจะมีการแสดงรายชื่อ web site ปรากฏขึ้นให้เลือก
  2. การย้อนกลับ – ไปหน้าเอกสารถัดไป
    ทำได้โดยการกดปุ่ม Back เพื่อย้อนกลับไปยังเอกสารก่อนหน้า และสามารถกด Next เพื่อไปยังเอกสารหน้าต่อไปได้
  3. การให้แสดงเอกสารใหม่
    กดปุ่ม Refresh เพื่อให้ load เอกสารหน้านั้นใหม่อีกครั้ง
  4. หยุดการแสดงเอกสาร
    เมื่อต้องการหยุดการแสดงเอกสารในหน้าปัจจุบันที่กำลังทำการ load อยู่ ให้กดปุ่ม Stop โปรแกรมจะหยุดทำการ load เอกสารโดยทันที และจะแสดงข้อมูลบางส่วนของเอกสารเท่าที่ได้ load มาแล้วออกมา
  5. กลับไป Home
    กดปุ่ม Home เพื่อกลับไปแสดงเอกสารหน้าแรกสุด (Web site แรกทีเจอเมื่อเรียกโปรแกรมทำงาน)
  6. แสดงรายชื่อ web site ที่ได้ไปมา
    สามารถกดปุ่ม History เพื่อดูว่าได้มีการไปยัง web site ไหนมาแล้วบ้างได้ เมื่อมีการแสดงรายชื่อ web site ออกมา สามารถคลิกเพื่อให้โปรแกรมทำการ load เอกสารหน้านั้นๆมาใหม่ได้
แหล่งอ้างอิง : http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan4000/plan4003/page3.htm


 

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต



ประเภทของโดเมนเนม


ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร
โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร

โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
  1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
  2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ


โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
    * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
    * .edu คือ สถาบันการศึกษา
    * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .mil คือ องค์กรทางทหาร
  
โดนเมนเนม 3 ระดับ  
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th

ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ

    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .ac คือ สถาบันการศึกษา
    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร

    * .th   คือ ประเทศไทย
    * .cn  คือ ประเทศจีน
    * .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
    * .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
    * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย
  

โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา

หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา
เช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
เพราะถ้าคุณ
จด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว

ส่วนเรื่องราคาในท้องตลาดบ้านเรามีหลากหลายราคาแล้วแต่จะเลือกจดโดเมน
ตามความพอใจ ท่านที่สนใจสามารถคลิกเข้าไปตรวจสอบได้ที่


 
 

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA
          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง
          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้
          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้
          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)
          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

          สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

          การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

          ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลขให้แก่เครือข่าย

          ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ
          อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้




แหล่งที่อ้างอิง : http://www.slideshare.net/pirapong/internet-2953181